ประวัติ
จังหวะคิวบันรัมบ้าได้นำเข้ามาสู่ประเทศอเมริกาโดยทาสชาวอัฟริกันตั้งแต่เมื่อราว ค.ศ. 1928-
1929 การก้าวเท้าและรูปแบบการเต้นของจังหวะนี้ยังไม่ชัดเจนเลยที่เดียวคนส่วนใหญ่ทึกทักเอาการ
เต้นของจังหวะนี้เป็นการเต้นรูปแบบใหม่ของจังหวะ ฟอกซ์ทรอท ด้วยการเพิ่มการใช้สะโพกลงไป
จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะคิวบันรัมบ้าจึงได้รับการพัฒนาต่อไปให้เป็น โดย Monsieur
Pierre และ Doris Lavell นักลีลาศชาวอังกฤษ ซึ่งมีโรงเรียนสอนอยู่ที่ถนน Regent ในมหานคร
ลอนดอน แต่ก็ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร จนกระทั่งWalter Lird เริ่มเขียนตำราการลีลาศของจังหวะ
ลาตินขึ้นผลงานของเขาได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากจากหลายองค์กรของการลีลาศ
เอกลักษณ์เฉพาะของการเคลื่อนไหว
เป็นจังหวะที่ค่อนข้างช้านุ่มนวล สวยงามและโรแมนติคน่าประทับใจแฝงด้วยลีลาที่ยั่วยวน
กระตุ้นความรู้สึก ดูดดื่ม ยั่วเย้าและการผละหนีอย่างมีจริต จังหวะคิวบันนี้ความสำคัญอยู่ที่การ
เคลื่อนไหวสะโพก ซึ่งเกิดจากการควบคุมการโอนถ่ายน้ำหนักจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง เมื่อเท้าใด
เท้าหนึ่งรับน้ำหนักตัวสะโพกด้านนั้นจะเหวี่ยงออกไปในลักษณะหมุนเป็นวงกลม
คิวบัน รัมบ้า ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ Queen of latin”
ฟิกเกอร์พื้นฐาน ประกอบด้วย
1. ทักษะเบื้องต้น (Basic Movement)
2. การหมุ่นพร้อมกันทั้งชายและหญิง (Spot Turn)
3. นิวยอร์ค (New York)
4. โชลเดอร์ทูโชลเดอร์(Shoulder to Shoulder)
5. แฮนด์ทูแฮนด์ (Hand to Hand)
ตัวอย่างการเต้นแบบ คิวบารุมบ้า
เครดิต: http://www.bncc.ac.th/old/electronicmedia/taweelap/07.pdf
http://images1.variety.com/rbidata/photogallery/variety/31342.bmp
http://www.youtube.com/watch?v=015khuILBYU
http://www.youtube.com/watch?v=e_in1t25wGI
http://61.19.71.83/sapaleerat/spaleelart/Cuban%20-%20Rumba/frame04.htm
คำถาม
1. เอกลักษณ์เพาะของการเคลื่อนไหวคือข้อใด
1.เป็นจังหวะที่ช้าๆ มีควานุ่มนวลและโรเเมนติก
2.เป็นจังหวะที่รวดเร็ว คึกคื้น
3.เป็นจังหวะที่รวดเร็วมีความสวยงามและโรเเมนติก
2. ข้อใดไม่ใช่ท่าของฟิกเกอร์พื้นฐาน
1.นิวยอร์ค
2.ทักษะเบื้องต้น
3.ทักษะขั้นสูง
3.จังหวะคิวบันรัมบ้าถูกนำเข้ามาจากประเทศอะไร
1.อังกฤษ
2.อเมริกา
3.สวีเดน
4. คิวบันรัมบ้าได้รับขนานนามว่าอะไร
1. King of dance
2. Queen of latin
3. Queen of dance
5. ชาวอัฟริกันนำจังหวะคิวบันรัมบ้าในช่วงค.ศ. ใด
1.1928-1929
2.1930-1932
3.1933-1935